การเตรียมตัวในการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี
อุปกรณ์อยู่ค่ายพักแรมที่ลูกเสือ-เนตรนารี จะต้องเตรียมพร้อม แบ่งออกได้ดังนี
- อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
- อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง
- อาหารและยา
- อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ
1. อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
- เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี
- ชุดลำลอง
- ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัว, ผ้าห่มกันหนาว
- เครื่องสำอาง (สบู่,หวี,กระจก,แปรงและยาสีฟัน)
- ไฟฉายเดินทาง
- เชือกประจำตัว
- กระติกน้ำประจำตัว
- มีดประจำตัว
- อุปกรณ์การบริโภค (จาน, ช้อน, กระบอกน้ำ)
- สมุดบันทึก,ปากกา,ดินสอ
- รองเท้าแตะ
- ยากันยุงควรเป็นชนิดทา
- ยาประจำตัว
- เสื้อกันฝนกรณีหน้าฝน
2. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง ได้แก่
1. ธงประจำหมู่
2. เต็นท์บุคคล และเต็นท์ประกอบงาน
3. ภาชนะประกอบอาหารเท่าที่จำเป็น
4. พลั่วสนาม หรือจอบ
5. มีดถางหญ้า หรือขวาน
6. เชือกขนาดต่าง ๆ
7. เครื่องดนตรี
8. ผ้าใบหรือผ้าพลาสติกกันแดดและรองนั่ง
9. ไม้ขีด, เทียนและเชื้อเพลิง
3. อาหารและยาต่าง ๆ ได้แก่
- ข้าวสาร
- อาหารกระป๋อง
- เนื้อสัตว์ที่รวน หรือ ย่างไว้แล้ว
- น้ำพริกที่ปรุงแล้ว
- น้ำปลาหรือเกลือ
- หัวหอม หัวกระเทียม พริก
- น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำส้ม
- ผัก ผลไม้
4. อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม อื่นๆ การแสดง
1….
2….
สัญญาณนกหวีด
ในการฝึกประจำวัน หรือในโอกาสที่อยู่ห่างไกลจากลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ควรใช้สัญญาณนกหวีดสั่งลูกเสือ ดังนี้
- หวีดยาว 1 ครั้ง ---------------------- หมายความว่า “หยุด” คอยฟังคำสั่ง
- หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ----- ----- ------ --------------- สลับกัน ความหมายว่า “เรียกนายหมู่ไปประชุม”
- หวีดสั้น ๆ ติดกันหลายครั้ง ---- ---- ----- ----- ---- หมายความว่า “รวมกอง”
- หวีดสั้น 1 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ----- ------------- สลับกันไป หมายความว่า “เกิดเหตุ”
หมายเหตุ อื่นๆ
- เพลงประจำหมู่ที่ใช้ร้อง ให้มีเนื้อร้องระบุชื่อหมู่/กลุ่ม มีสาระ ปลุกใจ เป็นคติ
- เรื่องที่แสดง ควรเป็นเรื่อง เป็นคติเตือนใจ ประวัติศาสตร์ปลุกใจให้รักชาติ ให้ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี สนุกสนาน
- ไม่ควรแสดงเรื่องไร้สาระ เสียดสีบุคคล เรื่องการเมือง ผีสาง ลามก อนาจาร ล้อเลียนศาสนา
- ห้ามใช้อาวุธจริงหรือของมีคมมาประกอบการแสดง ห้ามสูบบหรี่ในขณะนั่งอยู่ในบริเวณชุมนุม
การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในหมู่ในการอยู่ค่ายพักแรม
ตามที่การจัดลูกเสืออยู่ค่ายพักแรมเป็นหมู่ ๆ ให้มีการกินอยู่หลับนอน ทำกิจกรรม
เรียน เล่นกีฬาร่วมกันภายในหมู่ เพื่อให้งานของหมู่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ทันตามกำหนดเวลา ผู้กำกับจะจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนออกไป ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนมีงานทำไม่มีผู้ใดว่างงาน โดยปกติแล้วจะจัดแบ่งดังนี้
คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นนายหมู่ รับผิดชอบดูแลทั่วไปแทนผู้กำกับ คอยติดต่อประสานงานกับ
หมู่อื่น กับผู้กำกับและกับบุคคลภายนอกซึ่งอาจมาเยี่ยมสมาชิกภายในกลุ่ม
คนที่ 2 ทำหน้าที่รองนายหมู่ คอยช่วยเหลือนายหมู่ทุกกรณีไป อาจทำหน้าที่แทนนายหมู่ขณะ
นายหมู่ไม่อยู่หรืออยู่แต่นายหมู่มีภารกิจต้องทำหน้าที่บางอย่างแทน จึงให้รองนายหมู่ไป
ประชุมแทน
คนที่ 3 ทำหน้าที่พลาธิการ คอยดูแลพัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเบิกมาจากผู้กำกับหรือกองอำนวย-
การเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี ไม่ว่าบัญชีการเงิน บัญชีวัสดุอุปกรณ์ ดูแลภายในที่พัก จัดความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในที่พัก เก็บรักษา มีด ขวาน ไม้กวาด กระป๋องน้ำ เชือก
และอื่น ๆ
คนที่ 4 ทำหน้าที่เป็นแม่ครัว คอยหุงข้าว ปรุงอาหาร จัดการเกี่ยวกับการประกอบอาหาร เตาไฟ หลุมเปียก หลุมแห้ง ที่วางจาน ชาม ให้เป็นระเบียบ
คนที่ 5 ทำหน้าที่เป็นคนหาน้ำสำหรับประกอบอาหาร น้ำดื่ม น้ำซักล้าง ดูแลมิให้ขาดตกบกพร่อง
คนที่ 6 ทำหน้าที่เป็นคนหาเชื้อเพลิง หาฟืน เก็บฟืนให้มิดชิด เวลาฝนตกจะได้ใช้ได้
คนที่ 7 ทำหน้าที่ทั่วไป ช่วยงานคนอื่น ๆ พัฒนาค่ายพัก กำจัดขยะมูลฝอย ทำที่ตากผ้า และรั้วกั้น
ระหว่างค่าย ดูแลบริเวณค่ายพักทั่ว ๆ ไป เสมือนค่ายนั้นเป็นบ้าน ต้องปรับปรุง ตกแต่ง
การกางเต็นท์และการอยู่ค่ายพักแรม
การกางเต็นท์เต็นท์หรือกระโจม ใช้เป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และเก็บสิ่งของของลูกเสือซึ่งมีอยู่อยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่นอนได้คนเดียว นอนสองคน หรือนอนหลายคน จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการกาง เช่น เต็นท์กระแบะ เต็นท์ชาวค่าย เต็นท์แบบหลังคาอกไก่ เต็นท์นักสำรวจ เป็นต้น
การเลือกเต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรมนั้น ควรเลือกที่มีน้ำหนักเบาสามารถที่จะนำไปคนเดียวได้ หรือหมู่ลูกเสือนำไปได้
การเลือกสถานที่กางเต็นท์1. พื้นที่โล่งมีหญ้าปกคลุมบางเล็กน้อย
2. พื้นที่ราบเรียบ หรือลาดเอียงบ้างเล็กน้อย ไม่ขุรขระหรือมีของแหลมคม
3. ไม่เป็นแอ่ง หรือหุบเขาซึ่งเป็นที่น้ำท่วมถึงได้ง่าย
4. อยู่ใกล้ แหล่งน้ำสะอาดและไม่มีสัตว์เดินผ่าน
5. ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะอาจถูกกิ่งไม้หล่นทับเมื่อมีพายุ
เต็นท์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม นิยมใช้เต็นท์เดี่ยว เรียกว่ากระโจม 5 ชาย
ส่วนประกอบของกระโจม 5 ชาย
1. ผ้าเต็นท์สองผืน 2. เสาเต็นท์ 3. เชือกดึงเสาหลักมีความยาวเส้นละ 3 เมตร 4. สมอบก 10 ตัว
5.เชือกร้อยหูเต็นท์มีความยาว 1-1.5 ฟุต
วิธีกางเต็นท์
ก่อนกางเต็นท์เราต้องดูทิศทางลม ถ้าเป็นฤดูหนาว หรือฤดูฝนให้ทัน ด้านหลังเต็นท์สู่ทิศทางลม แต่ถ้เป็นฤดูร้อนให้หันหน้าเต็นท์สู่ทางลม การกางเต็นท์ มีวิธีดังนี้
1. ให้นำผ้าเต็นท์ทั้งสองผืน ติดกระดุมเข้าด้วยกัน (ด้านที่ติดกระดุมเป็นด้านสันหลังคา ส่วนด้านที่มีรูตาไก่ด้านละ สามรู เป็นด้านชายด้านล่าง ) จากนั้นนำเสาหนึ่งต้นมาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่หนึ่งจับไว้
2. ให้คนที่สองใช้เชือกยาว 1 เส้น ยึดจากหัวเสาไปยังสมอบกด้านหน้า แล้วใช้เชือกสั้น2เส้น ยึดชายเต็นท์ เข้ากับสมอบก ให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
3. ให้คนที่สองเดินอ้อมไปอีกด้านจากนั้นจึงเสียบเสาอีกต้นเข้ากับรูหลังคาเต็นท์ และจับเสาไว้แล้วจึงให้คนที่หนึ่ง นำเชือกเส้นยาวยึดจากเสาไปยังสมอบก
4. ให้ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือกยึดชายเต็นท์ เมื่อกางเต็นท์เสร็จแล้ว เราต้องขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ลึกประมาณ 16 เซนติเมตร ให้ปลายรางน้ำหันไปทางพื้นที่ลาดต่ำ แล้วนำดินที่ได้มากันไว้ข้างชายเต็นท์เพิ่อป้องกันน้ำซึมและสัตว์เลื้อยคลานเข้าไป
การเก็บรักษาเต็นท์และอุปกรณ์
1. ระวังอย่าให้เต็นท์ฉีกขาด หากขาดหรือมีรูต้องรีบปะชุนทันที
2. ในเวาลกลางวัน ถ้าอากาศดีต้องเปิดเต็นท์ให้โล่งเพื่อระบายอากาศ
3. เวลาถอนสมอบกเก็บ ให้ดึงกลับขึ้นมาจาแนวที่ตอกลงไป อย่างัด
4. เมื่อเลิกใช้เต็นท์ ต้องพับเก็บให้เรียบร้อย หากมีรอยสกปรกต้องรีบทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผงซักฟอกเช็ด แล้วผึ่งแดดให้แห้ง
การอยู่ค่ายพักแรมการไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้ มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม
อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน ปรุงได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง เช่น ไข่เค็ม กุนเชียง อาหารกระป๋อง และจะต้องมีพริก เกลือ น้ำตาล เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย
หำำำ
ตอบลบ