วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559

การเตรียมตัวในการอยู่ค่ายพักแรม ลูกเสือ-เนตรนารี





การเตรียมตัวในการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี




อุปกรณ์อยู่ค่ายพักแรมที่ลูกเสือ-เนตรนารี จะต้องเตรียมพร้อม แบ่งออกได้ดังนี

  1. อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
  2. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง
  3. อาหารและยา
  4. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ

1.  อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
  1. เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี
  2. ชุดลำลอง
  3. ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัว,  ผ้าห่มกันหนาว

  4. เครื่องสำอาง (สบู่,หวี,กระจก,แปรงและยาสีฟัน)
  5. ไฟฉายเดินทาง
  6. เชือกประจำตัว
  7. กระติกน้ำประจำตัว
  8. มีดประจำตัว
  9. อุปกรณ์การบริโภค (จาน, ช้อน, กระบอกน้ำ)
  10. สมุดบันทึก,ปากกา,ดินสอ
  11. รองเท้าแตะ
  12. ยากันยุงควรเป็นชนิดทา
  13. ยาประจำตัว
  14. เสื้อกันฝนกรณีหน้าฝน

2.  อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง  ได้แก่
1.  ธงประจำหมู่
2.  เต็นท์บุคคล  และเต็นท์ประกอบงาน
         3.  ภาชนะประกอบอาหารเท่าที่จำเป็น
         4.  พลั่วสนาม หรือจอบ
5.  มีดถางหญ้า  หรือขวาน
6.  เชือกขนาดต่าง ๆ
7.  เครื่องดนตรี     
8.  ผ้าใบหรือผ้าพลาสติกกันแดดและรองนั่ง
9.  ไม้ขีด, เทียนและเชื้อเพลิง

3.  อาหารและยาต่าง ๆ  ได้แก่
  1. ข้าวสาร
  2. อาหารกระป๋อง
  3. เนื้อสัตว์ที่รวน หรือ ย่างไว้แล้ว
  4. น้ำพริกที่ปรุงแล้ว
  5. น้ำปลาหรือเกลือ
  6. หัวหอม หัวกระเทียม พริก
  7. น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำส้ม
  8. ผัก ผลไม้

4. อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม อื่นๆ การแสดง
1….
2….

สัญญาณนกหวีด

ในการฝึกประจำวัน  หรือในโอกาสที่อยู่ห่างไกลจากลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ควรใช้สัญญาณนกหวีดสั่งลูกเสือ  ดังนี้
  1. หวีดยาว 1 ครั้ง  ----------------------  หมายความว่า  “หยุด” คอยฟังคำสั่ง
  2. หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง  -----   -----  ------  ---------------  สลับกัน ความหมายว่า  “เรียกนายหมู่ไปประชุม”
  3. หวีดสั้น ๆ ติดกันหลายครั้ง  ----  ----  -----  -----  ----  หมายความว่า   “รวมกอง”
  4. หวีดสั้น 1 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง -----  ------------- สลับกันไป หมายความว่า  “เกิดเหตุ”

หมายเหตุ อื่นๆ

  1. เพลงประจำหมู่ที่ใช้ร้อง ให้มีเนื้อร้องระบุชื่อหมู่/กลุ่ม มีสาระ ปลุกใจ เป็นคติ
  2. เรื่องที่แสดง ควรเป็นเรื่อง เป็นคติเตือนใจ ประวัติศาสตร์ปลุกใจให้รักชาติ ให้ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี สนุกสนาน
  3. ไม่ควรแสดงเรื่องไร้สาระ เสียดสีบุคคล เรื่องการเมือง ผีสาง ลามก อนาจาร ล้อเลียนศาสนา
  4. ห้ามใช้อาวุธจริงหรือของมีคมมาประกอบการแสดง  ห้ามสูบบหรี่ในขณะนั่งอยู่ในบริเวณชุมนุม

การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในหมู่ในการอยู่ค่ายพักแรม
ตามที่การจัดลูกเสืออยู่ค่ายพักแรมเป็นหมู่ ๆ ให้มีการกินอยู่หลับนอน   ทำกิจกรรม  
เรียน   เล่นกีฬาร่วมกันภายในหมู่  เพื่อให้งานของหมู่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย  รวดเร็ว  ทันตามกำหนดเวลา  ผู้กำกับจะจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนออกไป  ทั้งนี้    เพื่อให้ทุกคนมีงานทำไม่มีผู้ใดว่างงาน   โดยปกติแล้วจะจัดแบ่งดังนี้
คนที่  1   ทำหน้าที่เป็นนายหมู่  รับผิดชอบดูแลทั่วไปแทนผู้กำกับ  คอยติดต่อประสานงานกับ
 หมู่อื่น กับผู้กำกับและกับบุคคลภายนอกซึ่งอาจมาเยี่ยมสมาชิกภายในกลุ่ม
คนที่  2   ทำหน้าที่รองนายหมู่   คอยช่วยเหลือนายหมู่ทุกกรณีไป      อาจทำหน้าที่แทนนายหมู่ขณะ
นายหมู่ไม่อยู่หรืออยู่แต่นายหมู่มีภารกิจต้องทำหน้าที่บางอย่างแทน  จึงให้รองนายหมู่ไป
               ประชุมแทน
คนที่  3   ทำหน้าที่พลาธิการ   คอยดูแลพัสดุ  อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเบิกมาจากผู้กำกับหรือกองอำนวย-
 การเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี ไม่ว่าบัญชีการเงิน  บัญชีวัสดุอุปกรณ์   ดูแลภายในที่พัก   จัดความ
 เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในที่พัก  เก็บรักษา    มีด    ขวาน   ไม้กวาด   กระป๋องน้ำ   เชือก  
 และอื่น ๆ
คนที่  4   ทำหน้าที่เป็นแม่ครัว   คอยหุงข้าว  ปรุงอาหาร  จัดการเกี่ยวกับการประกอบอาหาร         เตาไฟ หลุมเปียก หลุมแห้ง ที่วางจาน  ชาม  ให้เป็นระเบียบ
คนที่  5   ทำหน้าที่เป็นคนหาน้ำสำหรับประกอบอาหาร  น้ำดื่ม น้ำซักล้าง  ดูแลมิให้ขาดตกบกพร่อง  
คนที่  6   ทำหน้าที่เป็นคนหาเชื้อเพลิง   หาฟืน  เก็บฟืนให้มิดชิด  เวลาฝนตกจะได้ใช้ได้
คนที่  7   ทำหน้าที่ทั่วไป   ช่วยงานคนอื่น ๆ พัฒนาค่ายพัก กำจัดขยะมูลฝอย ทำที่ตากผ้า  และรั้วกั้น
 ระหว่างค่าย  ดูแลบริเวณค่ายพักทั่ว ๆ ไป  เสมือนค่ายนั้นเป็นบ้าน  ต้องปรับปรุง  ตกแต่ง

วิธีการปฎิตนเมื่ออยู่ค่ายพักแรม

1 ความคิดเห็น: