PONGSAKON INTAWONG
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562
วันเสาร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2561
ยุทธหัตถี
วิดีโอจากภาพยนตร์ เรื่องสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตอนกระทำยุตหัตถีกับ
พระมหาอุปราชามังกะยอชะวา
วันจันทร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559
การเตรียมตัวในการอยู่ค่ายพักแรม ลูกเสือ-เนตรนารี
การเตรียมตัวในการอยู่ค่ายพักแรมลูกเสือ-เนตรนารี
อุปกรณ์อยู่ค่ายพักแรมที่ลูกเสือ-เนตรนารี จะต้องเตรียมพร้อม แบ่งออกได้ดังนี
- อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
- อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง
- อาหารและยา
- อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับกิจกรรมต่าง ๆ
1. อุปกรณ์เครื่องใช้ส่วนตัว
- เครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี
- ชุดลำลอง
- ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัว, ผ้าห่มกันหนาว
- เครื่องสำอาง (สบู่,หวี,กระจก,แปรงและยาสีฟัน)
- ไฟฉายเดินทาง
- เชือกประจำตัว
- กระติกน้ำประจำตัว
- มีดประจำตัว
- อุปกรณ์การบริโภค (จาน, ช้อน, กระบอกน้ำ)
- สมุดบันทึก,ปากกา,ดินสอ
- รองเท้าแตะ
- ยากันยุงควรเป็นชนิดทา
- ยาประจำตัว
- เสื้อกันฝนกรณีหน้าฝน
2. อุปกรณ์เครื่องใช้สำหรับหมู่และกอง ได้แก่
1. ธงประจำหมู่
2. เต็นท์บุคคล และเต็นท์ประกอบงาน
3. ภาชนะประกอบอาหารเท่าที่จำเป็น
4. พลั่วสนาม หรือจอบ
5. มีดถางหญ้า หรือขวาน
6. เชือกขนาดต่าง ๆ
7. เครื่องดนตรี
8. ผ้าใบหรือผ้าพลาสติกกันแดดและรองนั่ง
9. ไม้ขีด, เทียนและเชื้อเพลิง
3. อาหารและยาต่าง ๆ ได้แก่
- ข้าวสาร
- อาหารกระป๋อง
- เนื้อสัตว์ที่รวน หรือ ย่างไว้แล้ว
- น้ำพริกที่ปรุงแล้ว
- น้ำปลาหรือเกลือ
- หัวหอม หัวกระเทียม พริก
- น้ำมันพืช น้ำตาล น้ำส้ม
- ผัก ผลไม้
4. อุปกรณ์ที่ใช้ทำกิจกรรม อื่นๆ การแสดง
1….
2….
สัญญาณนกหวีด
ในการฝึกประจำวัน หรือในโอกาสที่อยู่ห่างไกลจากลูกเสือ ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ควรใช้สัญญาณนกหวีดสั่งลูกเสือ ดังนี้
- หวีดยาว 1 ครั้ง ---------------------- หมายความว่า “หยุด” คอยฟังคำสั่ง
- หวีดสั้น 3 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ----- ----- ------ --------------- สลับกัน ความหมายว่า “เรียกนายหมู่ไปประชุม”
- หวีดสั้น ๆ ติดกันหลายครั้ง ---- ---- ----- ----- ---- หมายความว่า “รวมกอง”
- หวีดสั้น 1 ครั้ง หวีดยาว 1 ครั้ง ----- ------------- สลับกันไป หมายความว่า “เกิดเหตุ”
หมายเหตุ อื่นๆ
- เพลงประจำหมู่ที่ใช้ร้อง ให้มีเนื้อร้องระบุชื่อหมู่/กลุ่ม มีสาระ ปลุกใจ เป็นคติ
- เรื่องที่แสดง ควรเป็นเรื่อง เป็นคติเตือนใจ ประวัติศาสตร์ปลุกใจให้รักชาติ ให้ส่งเสริมขนบธรรมเนียมประเพณี สนุกสนาน
- ไม่ควรแสดงเรื่องไร้สาระ เสียดสีบุคคล เรื่องการเมือง ผีสาง ลามก อนาจาร ล้อเลียนศาสนา
- ห้ามใช้อาวุธจริงหรือของมีคมมาประกอบการแสดง ห้ามสูบบหรี่ในขณะนั่งอยู่ในบริเวณชุมนุม
การแบ่งหน้าที่รับผิดชอบภายในหมู่ในการอยู่ค่ายพักแรม
ตามที่การจัดลูกเสืออยู่ค่ายพักแรมเป็นหมู่ ๆ ให้มีการกินอยู่หลับนอน ทำกิจกรรม
เรียน เล่นกีฬาร่วมกันภายในหมู่ เพื่อให้งานของหมู่ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย รวดเร็ว ทันตามกำหนดเวลา ผู้กำกับจะจัดแบ่งหน้าที่รับผิดชอบของแต่ละคนออกไป ทั้งนี้ เพื่อให้ทุกคนมีงานทำไม่มีผู้ใดว่างงาน โดยปกติแล้วจะจัดแบ่งดังนี้
คนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นนายหมู่ รับผิดชอบดูแลทั่วไปแทนผู้กำกับ คอยติดต่อประสานงานกับ
หมู่อื่น กับผู้กำกับและกับบุคคลภายนอกซึ่งอาจมาเยี่ยมสมาชิกภายในกลุ่ม
คนที่ 2 ทำหน้าที่รองนายหมู่ คอยช่วยเหลือนายหมู่ทุกกรณีไป อาจทำหน้าที่แทนนายหมู่ขณะ
นายหมู่ไม่อยู่หรืออยู่แต่นายหมู่มีภารกิจต้องทำหน้าที่บางอย่างแทน จึงให้รองนายหมู่ไป
ประชุมแทน
คนที่ 3 ทำหน้าที่พลาธิการ คอยดูแลพัสดุ อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จะเบิกมาจากผู้กำกับหรือกองอำนวย-
การเป็นเจ้าหน้าที่บัญชี ไม่ว่าบัญชีการเงิน บัญชีวัสดุอุปกรณ์ ดูแลภายในที่พัก จัดความ
เป็นระเบียบเรียบร้อยภายในที่พัก เก็บรักษา มีด ขวาน ไม้กวาด กระป๋องน้ำ เชือก
และอื่น ๆ
คนที่ 4 ทำหน้าที่เป็นแม่ครัว คอยหุงข้าว ปรุงอาหาร จัดการเกี่ยวกับการประกอบอาหาร เตาไฟ หลุมเปียก หลุมแห้ง ที่วางจาน ชาม ให้เป็นระเบียบ
คนที่ 5 ทำหน้าที่เป็นคนหาน้ำสำหรับประกอบอาหาร น้ำดื่ม น้ำซักล้าง ดูแลมิให้ขาดตกบกพร่อง
คนที่ 6 ทำหน้าที่เป็นคนหาเชื้อเพลิง หาฟืน เก็บฟืนให้มิดชิด เวลาฝนตกจะได้ใช้ได้
คนที่ 7 ทำหน้าที่ทั่วไป ช่วยงานคนอื่น ๆ พัฒนาค่ายพัก กำจัดขยะมูลฝอย ทำที่ตากผ้า และรั้วกั้น
ระหว่างค่าย ดูแลบริเวณค่ายพักทั่ว ๆ ไป เสมือนค่ายนั้นเป็นบ้าน ต้องปรับปรุง ตกแต่ง
วิธีการปฎิตนเมื่ออยู่ค่ายพักแรม
การกางเต็นท์และการอยู่ค่ายพักแรม
การกางเต็นท์เต็นท์หรือกระโจม ใช้เป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และเก็บสิ่งของของลูกเสือซึ่งมีอยู่อยู่ด้วยกันหลายชนิด ทั้งที่นอนได้คนเดียว นอนสองคน หรือนอนหลายคน จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการกาง เช่น เต็นท์กระแบะ เต็นท์ชาวค่าย เต็นท์แบบหลังคาอกไก่ เต็นท์นักสำรวจ เป็นต้น
การเลือกเต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรมนั้น ควรเลือกที่มีน้ำหนักเบาสามารถที่จะนำไปคนเดียวได้ หรือหมู่ลูกเสือนำไปได้
การเลือกสถานที่กางเต็นท์1. พื้นที่โล่งมีหญ้าปกคลุมบางเล็กน้อย
2. พื้นที่ราบเรียบ หรือลาดเอียงบ้างเล็กน้อย ไม่ขุรขระหรือมีของแหลมคม
3. ไม่เป็นแอ่ง หรือหุบเขาซึ่งเป็นที่น้ำท่วมถึงได้ง่าย
4. อยู่ใกล้ แหล่งน้ำสะอาดและไม่มีสัตว์เดินผ่าน
5. ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่ เพราะอาจถูกกิ่งไม้หล่นทับเมื่อมีพายุ
เต็นท์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม นิยมใช้เต็นท์เดี่ยว เรียกว่ากระโจม 5 ชาย
ส่วนประกอบของกระโจม 5 ชาย
1. ผ้าเต็นท์สองผืน 2. เสาเต็นท์ 3. เชือกดึงเสาหลักมีความยาวเส้นละ 3 เมตร 4. สมอบก 10 ตัว
5.เชือกร้อยหูเต็นท์มีความยาว 1-1.5 ฟุต
วิธีกางเต็นท์
ก่อนกางเต็นท์เราต้องดูทิศทางลม ถ้าเป็นฤดูหนาว หรือฤดูฝนให้ทัน ด้านหลังเต็นท์สู่ทิศทางลม แต่ถ้เป็นฤดูร้อนให้หันหน้าเต็นท์สู่ทางลม การกางเต็นท์ มีวิธีดังนี้
1. ให้นำผ้าเต็นท์ทั้งสองผืน ติดกระดุมเข้าด้วยกัน (ด้านที่ติดกระดุมเป็นด้านสันหลังคา ส่วนด้านที่มีรูตาไก่ด้านละ สามรู เป็นด้านชายด้านล่าง ) จากนั้นนำเสาหนึ่งต้นมาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่หนึ่งจับไว้
2. ให้คนที่สองใช้เชือกยาว 1 เส้น ยึดจากหัวเสาไปยังสมอบกด้านหน้า แล้วใช้เชือกสั้น2เส้น ยึดชายเต็นท์ เข้ากับสมอบก ให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
3. ให้คนที่สองเดินอ้อมไปอีกด้านจากนั้นจึงเสียบเสาอีกต้นเข้ากับรูหลังคาเต็นท์ และจับเสาไว้แล้วจึงให้คนที่หนึ่ง นำเชือกเส้นยาวยึดจากเสาไปยังสมอบก
4. ให้ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือกยึดชายเต็นท์ เมื่อกางเต็นท์เสร็จแล้ว เราต้องขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ลึกประมาณ 16 เซนติเมตร ให้ปลายรางน้ำหันไปทางพื้นที่ลาดต่ำ แล้วนำดินที่ได้มากันไว้ข้างชายเต็นท์เพิ่อป้องกันน้ำซึมและสัตว์เลื้อยคลานเข้าไป
การเก็บรักษาเต็นท์และอุปกรณ์
1. ระวังอย่าให้เต็นท์ฉีกขาด หากขาดหรือมีรูต้องรีบปะชุนทันที
2. ในเวาลกลางวัน ถ้าอากาศดีต้องเปิดเต็นท์ให้โล่งเพื่อระบายอากาศ
3. เวลาถอนสมอบกเก็บ ให้ดึงกลับขึ้นมาจาแนวที่ตอกลงไป อย่างัด
4. เมื่อเลิกใช้เต็นท์ ต้องพับเก็บให้เรียบร้อย หากมีรอยสกปรกต้องรีบทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผงซักฟอกเช็ด แล้วผึ่งแดดให้แห้ง
การอยู่ค่ายพักแรมการไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้ มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม
อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน ปรุงได้ง่าย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง เช่น ไข่เค็ม กุนเชียง อาหารกระป๋อง และจะต้องมีพริก เกลือ น้ำตาล เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย
วันพุธที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2558
ตำนานวัน คริสต์มาส
คำว่า "คริสต์มาส" เป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่า Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" ซึ่งพบครั้งแรกในเอกสารโบราณที่เป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas
เทศกาล Christmas หรือ XMas ตรงกับวันที่ 25 ธันวาคมของทุกปี ซึ่งวันที่ 25 ธันวาคมนั้นเป็นวันประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ โดยพระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ซึ่งปัจจุบันคือประเทศอิสราเอล ตามหลักฐานในพระคัมภีร์ได้บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่งให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวันหรือเดือนอะไร
ด้านนักประวัติศาสตร์ก็มีความเห็นที่ต่างออกไปโดยได้วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูซึ่งเปรียบเสมือนความสว่างของโลก และเหมือนดวงจันทร์เป็นความสว่างในตอนกลางคืนแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึง วันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย
องค์ประกอบวันคริสต์มาส
เป็นสิ่งแรกๆ ที่คนจะนึกถึงในฐานะสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส ซึ่งว่ากันว่าซานตาคลอสคนแรก คือ นักบุญ (เซนต์) นิโคลัส ผู้เป็นสังฆราชแห่งเมืองไมรา มีชีวิตอยู่ในศตวรรษที่ 4 และเหตุที่ได้รับการยกย่องว่าเป็นซานตาครอสคนแรก มาจากวันหนึ่งที่ท่านปีนขึ้นไปบนหลังคาบ้านของเด็กหญิงยากจนคนหนึ่ง แล้วทิ้งถุงเงินลงไปทางปล่องไฟ บังเอิญถุงเงินหล่นไปทางถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้ข้างเตาผิงพอดี
นักบุญนิโคลัส นั้นเป็นนักบุญที่ชาวฮอลแลนด์นับถือว่าเป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์ของเด็กๆ เมื่อชาวฮอลแลนด์กลุ่มหนึ่งอพยพไปอยู่ในสหรัฐฯ ก็ยังรักษาประเพณีการฉลองนักบุญ นิโคลาส ในวันที่ 5 ธันวาคม เอาไว้ ซึ่งหมายถึงนักบุญนี้จะมาเยี่ยมเด็กๆ และเอาของขวัญมาให้เด็กอื่นๆ ที่ไม่ใช่ลูกหลานของชาวฮอลแลนด์ที่อพยพมา ประเพณีนี้จึงเริ่มเป็นที่รู้จักและแพร่หลายในอเมริกา โดยมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง คือ ชื่อนักบุญนิโคลัสก็เปลี่ยนเป็น ซานตาคลอส และแทนที่จะเป็นสังฆราชก็กลายเป็นชายแก่ที่อ้วนและใส่ชุดสีแดง อาศัยอยู่ที่ขั้วโลกเหนือ มีเลื่อนเป็นยานพาหนะที่มีกวางเรนเดียร์ลาก และจะมาเยี่ยมเด็กทุกคนในโลกนี้ในโอกาสคริสต์มาส โดยลงมาทางปล่องไฟของบ้านเพื่อเอาของขวัญมาให้เด็กเหล่านั้นตามความประพฤติของเขา
ถึงแม้ซานตาคลอสจะเป็นเพียงตำนานที่เกิดขึ้นมาเพื่อเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสก็ตาม แต่ก็เป็นสัญลักษณ์ที่รวมเอาวิญญาณและความหมายของคริสต์มาสไว้อย่างมากมาย อาทิ ความปิติยินดีชื่นชม ความโอบอ้อมอารี ความรัก และความเป็นกันเอง
จากที่นักบุญนิโคลัสได้ปีนขึ้นไปบนปล่องไฟของบ้านเด็กหญิงยากจน เพื่อที่จะมอบเหรียญเงินให้เป็นของขวัญ แต่เหรียญนั้นกลับตกไปอยู่ในถุงเท้าที่เด็กหญิงแขวนตากไว้หน้าเตาผิง พอรุ่งเช้าเด็กหญิงตื่นมาเจอเหรียญเงินในถุงเท้าจึงดีใจมาก และกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการที่ผู้คนมากมายต่างพากันแขวนถุงเท้าคริสต์มาสไว้ เพื่อหวังจะได้รับของขวัญเช่นเดียวกันบ้าง
นอกจากนี้อีกอย่างที่ขาดไม่ได้ก็คือ ต้นคริสต์มาส ซึ่งต้นคริสต์มาสก็คือต้นสนที่นำมาประดับประดาด้วยลูกแอปเปิ้ลและขนมปังเพื่อระลึกถึงศีลมหาสนิท และก็ได้มีวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยจนมาถึงการประดับด้วยดวงไฟหลากสีสัน ขนม และของขวัญ อย่างในทุกวันนี้ การตกแต่งแบบนี้ต้องย้อนไปในศตวรรษที่ 8 เมื่อเซนต์บอนิเฟส มิชชันนารีชาวอังกฤษที่เดินทางไปประกาศเรื่องพระเจ้าในเยอรมนี ได้ช่วยเด็กที่กำลังจะถูกฆ่าเป็นเครื่องสังเวยบูชาที่ใต้ต้นโอ๊ก
โดยเมื่อโค่นต้นโอ๊กทิ้งก็ได้พบต้นสนเล็กๆ ต้นหนึ่งขึ้นอยู่ที่โคนต้นโอ๊ก ท่านจึงขุดให้คนที่ร่วมพิธีกรรมเหล่านั้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของชีวิต และตั้งชื่อว่า ต้นกุมารพระคริสต์ ต่อมา มาร์ติน ลูเธอร์ ผู้นำคริสตจักรชาวเยอรมัน ตัดต้นสนไปตั้งในบ้านในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1540 หลังจากนั้นในศตวรรษที่ 19 ต้นคริสต์มาสจึงเริ่มแพร่ไปสู่ประเทศอังกฤษและทั่วโลก และอีกเหตุผลที่ใช้ต้นสนก็เพราะว่ามันหาง่าย
ในสมัยโบราณนั้นต้นคริสต์มาส หมายถึง ต้นไม้ในสวนสวรรค์ ซึ่งอาดัมและเอวาไปหยิบผลไม้มากิน และทำบาป ไม่เชื่อฟังพระเจ้า โดยตามพระคัมภีร์นั้นได้เปรียบพระเยซูเจ้าเสมือนเป็นต้นไม้แห่งชีวิต ซึ่งเป็นต้นไม้ที่เขียวเสมอในทุกฤดูกาล สื่อถึงนิรันดรภาพของพระเยซูเจ้า อีกทั้งความสว่างของพระองค์ยังเหมือนแสงเทียนที่ส่องสว่างในความมืด และรวมถึงความชื่นชมยินดี และความสามัคคี ที่พระเยซูประทานให้ เพราะต้นไม้นั้นเป็นจุดศูนย์รวมของครอบครัวในเทศกาลคริสต์มาส
ต้นฮอลลี่ เป็นต้นไม้พุ่มเตี้ย และเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์ของวันคริสต์มาส เชื่อกันว่า สีเขียวของต้นฮอลลี่มีความหมายถึง การมีชีวิตอยู่ชั่วนิรันดร์ และมีความสัมพันธ์กับพระเยซู โดยผลสีแดงของต้นฮอลลี่นั้นหมายถึงหยดเลือดของพระเยซูที่ไหลลงบนไม้กางเขน ซึ่งเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของความรักที่มีต่อพระเจ้า ใบไม้ที่มีหนามของต้นฮอลลี่เป็นสิ่งที่เตือนพวกเราถึงมงกุฏหนามที่พวกชาวทหารโรมันได้นำมาวางไว้บนศีรษะของพระเยซูคริสต์
ตำนานของดอก Poinsettia ที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์หนึ่งของวันคริสต์มาส มาจากเรื่องราวของเด็กหญิงจนๆ คนหนึ่ง ที่ต้องการหาของขวัญไปมอบให้พระแม่มารีในวันคริสต์มาสอีฟ แต่เนื่องจากเธอไม่มีสิ่งของใดๆ ติดตัว จึงเดินทางไปตัวเปล่า และระหว่างทางเธอได้พบกับนางฟ้าที่บอกให้เธอเก็บเมล็ดพืชไว้ ต่อมาเมล็ดพืชนั้นกลับเจริญเติบโตเปลี่ยนเป็นดอกไม้สีเลือดหมูสดใส ซึ่งก็คือดอก Poinsettia ตั้งแต่นั้นดอก Poinsettia ก็ได้รับความนิยมใช้ประดับประดาบ้านในงานคริสต์มาส
ดอกคริสต์มาส Christmas Rose
มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาสนี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขาพบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจจึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพูอยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง
มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ ลักษณะเป็นดอกสีขาว และมักออกดอกในช่วงฤดูหนาว ตำนานของดอกคริสต์มาสนี้มีอยู่ว่า ในช่วงที่พระเยซูประสูติ มีผู้รอบรู้ 3 คน กับคนเลี้ยงแกะเดินทางมาพบพระเยซู ระหว่างทางพวกเขาพบกับ มาเดลอน เด็กหญิงที่เลี้ยงแกะคนหนึ่ง เมื่อเธอทราบว่าทั้งหมดเดินทางมาเพื่อมอบของขวัญให้พระเยซู มาเดลอนก็เสียใจที่ไม่มีของขวัญใดไปมอบให้พระเยซูบ้าง ก่อนที่นางฟ้าที่เฝ้ามองเธออยู่จะเกิดความเห็นใจจึงร่ายมนตร์เสกดอกไม้สีขาวน่ารักและมีสีชมพูอยู่ตรงปลายกลีบให้เธอ และดอกไม้นั้นคือ ดอกคริสต์มาสนั่นเอง
สีที่เกี่ยวข้องในวันคริสต์มาสประกอบด้วย
สีแดง : เป็นสีของผลฮอลลี่ หรือซานตาครอส เป็นสีของเดือนธันวาคม ที่แสดงถึงความตื่นเต้น และหากเป็นสัญลักษณ์ตามศาสนา สีแดงจะหมายถึง ไฟ, เลือด และความโอบอ้อมอารี
สีเขียว: เป็นสีของต้นไม้ สัญลักษณ์ของธรรมชาตื หมายถึงความอ่อนเยาว์และความหวังที่จะมีชีวิตเป็นนิรันดร์ เปรียบได้กับว่าเทศกาลคริสต์มาสคือเทศกาลแห่งความหวัง
สีขาว : เป็นสีของหิมะ และเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา คือแสงสว่าง ความบริสุทธิ์ ความสุข และความรุ่งเรือง สีขาวนี้จะปรากฎบนเสื้อคลุมนางฟ้า, เคราและชายเสื้อของซานตาครอส
สีทอง : เป็นสีของเทียนและดวงดาว เป็นสัญลักษณ์ของแสงอาทิตย์และความสว่างไสว
การถวายมิสซานี้เกิดขึ้นหลังจากพระสันตะปาปาจูลีอัสที่ 1 ได้ประกาศให้วันที่ 25 ธันวาคมเป็นวันฉลองพระคริสตสมภพ (วันคริสต์มาส) ในปีนั้นเองพระองค์และสัตบุรุษ ได้พากันเดินสวดภาวนา และขับร้องไปยังตำบลเบธเลเฮม และไปยังถ้ำที่พระเยซูเจ้าประสูติ เมื่อไปถึงตรงกับเวลาเที่ยงคืนพอดี พระสันตะปาปาทรงถวายบูชามิซซา ณ ที่นั้น เมื่อเดินทางกลับมาที่พักได้เวลาตี 3 พระองค์ก็ถวายมิสซาอีกครั้ง และ สัตบุรุษเหล่านั้นก็พากันกลับ แต่ยังมีสัตบุรุษหลายคนไม่ได้ร่วมขบวนไปด้วยในตอนแรก พระสันตะปาปาก็ทรงถวายบูชามิสซาอีกครั้งหนึ่งเป็นครั้งที่ 3 เพื่อสัตบุรุษเหล่านั้น ด้วยเหตุนี้เองพระสันตะปาปาจึงทรงอนุญาตในพระสงฆ์ถวายบูชามิสซาได้ 3 ครั้ง ในวันคริสต์มาส เหมือนกับการปฏิบัติของพระองค์ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจึงมีธรรมเนียมถวายมิสซาเที่ยงคืน ในวันคริสต์มาส และพระสงฆ์ก็สามารถถวายมิสซาได้ 3 มิสซา ในโอกาสวันคริสต์มาส
พวงมาลัยนั้นเป็นสัญลักษณ์ที่คนสมัยก่อนใช้หมายถึงชัยชนะ แต่สำหรับการแขวนพวงมาลัยในวันคริสต์มาสนั้น หมายถึงการที่พระองค์มาบังเกิดในโลก และทำให้ทุกสิ่งทุกอย่างครบบริบูรณ์ตามแผนการณ์ของพระเป็นเจ้า ซึ่งธรรมเนียมนี้ เกิดจากกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่งในประเทศเยอรมันได้เอากิ่งไม้มาประกอบเป็นวงกลมคล้ายพวงมาลัย แล้วเอาเทียน 4 เล่ม วางไว้บนพวงมาลัยนั้น ในตอนกลางคืนของวันอาทิตย์แรกของเทศกาลเพื่อเตรียมรับเสด็จ ทุกคนในครอบครัวจะจุดเทียนหนึ่งเล่ม สวดภาวนา และร้องเพลงคริสต์มาสร่วมกันเป็นเวลา 4 อาทิตย์ก่อนถึงวันคริสต์มาส ประเพณีเป็นที่นิยมอยางมากในประเทศอเมริกา ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงโดยนำเทียน 1 เล่มนั้นมาจุดไว้ตรงกลางพวงมาลัยสีเขียว และนำไปแขวนไว้ที่หน้าต่าง เพื่อเป็นการเตือนให้คนที่เดินผ่านไปมาได้รู้ว่าใกล้ถึงวันคริสต์มาสแล้ว ส่วนเหตุผลที่พวงมาลัยมีสีเขียวนั้น เป็นเพราะมีการเชื่อกันว่าสีเขียวจะช่วยป้องกันบ้านเรือนจากพวกพลังอันชั่ว ร้ายได้
เสียงระฆังในวันคริสต์มาสคือการเฉลิมฉลองให้กับการประสูติของพระพุทธเจ้า โดยมีตำนานเล่าว่า มีการตีระฆังช่วงก่อนเวลาเที่ยงคืนของวันคริสต์มาสเพื่อลดพลังความมืด และบ่งบอกถึงความตายของปีศาจ ก่อนที่พระเยซูผู้ที่จะมาช่วยไถ่บาปให้กับมวลมนุษย์จะถือกำเนิดขึ้น และระฆังนี้มีเสียงดังกังวาลนานนับชั่วโมง ก่อนที่ในเวลาเที่ยงคืนเสียงระฆังนี้จะกลับกลายมาเป็นเสียงแห่งความสุข
ในบางแห่งเชื่อว่า ลำต้นของแอปเปิ้ล มองดูคล้ายกับต้นไม้ในสรวงสวรรค์ จึงมีการนำเอาแอปเปิ้ลมาประดับตามต้นไม้ในวันคริสต์มาส ส่วนเครื่องประดับชิ้นเล็ก ๆ ที่ตกแต่งต้นคริสต์มาสนั้นเป็นงานศิลปะที่จำลองจากผลไม้ และที่มีสีสันสดใสนั้นเพื่อให้เกิดความรื่นเริงในบ้าน อีกทั้งแสงระยิบระยับที่สะท้อนไปมา ยังดูสวยงามคล้ายแสงเทียนและแสงไฟ
การแลกเปลี่ยนของขวัญในวันคริสต์มาสนั้น เริ่มต้นจากเมือง Saturnalia ในช่วงยุคโรมัน ต่อมาชาวคริสต์รับประเพณีนี้เข้ามา ด้วยความเชื่อว่า การให้ของขวัญนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับของขวัญประเภททอง, ยางสนที่มีกลิ่นหอม และ ยางไม้หอม ซึ่งพวกนักเวทย์จากตะวันออกที่เดินทางมาคารวะพระเยซูคริสต์ นำมาให้ตอนที่ท่านประสูติ
ทั้งหมดนั้นก็คือการเฉลิมฉลองให้กับพระเยซู ที่เกิดมาเพื่อชำระบาปให้แก่ชาวคริสต์ทั้งหลาย และเป็นเทศกาลที่นำความสุข สนุกสนาน มาสู่หมู่มวลมนุษย์
ที่มา : http://hilight.kapook.com/view/18771
วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
เศรษฐกิจพอเพียง คือหลักปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชทรงพระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทยเพือนำไปใช้เป็นแนวทางดำเนินชีวิตท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจทีต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบันคือ หลักปรัชญาเศรษฐกิจแบบ3ง่วง2เงื่อนไข
ห่วงที่ 1 คือ พอประมาณ หมายถึง พอประมาณในทุกอย่าง ความพอดีไม่มากหรือว่าน้อยจนเกินไปโดยต้องไม่เบียดเบียนตนเอง หรือผู้อื่นให้เดือดร้อน
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
ห่วงที่ 2 คือ มีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
ห่วงที่ 3 คือ มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านการต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
2 เงื่อนไข ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่
เงื่อนไขที่ 1 เงื่อนไขความรู้ คือ มีความรอบรู้เกี่ยวกับ วิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการ วางแผน และความระมัดระวังในขั้นตอนปฏิบัติ คุณธรรมประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
เงื่อนไขที่ 2 เงื่อนไขคุณธรรม คือ มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)